ด้วยเทคโนโลยีด้านการสืบสวนสอบสวนในปัจจุบัน มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ใครสักคนจะหลุดพ้นจากความผิดไปได้ หากตำรวจตั้งใจจะจับให้ได้จริงๆ เพราะวิธีการในการหาหลักฐานเพื่อชี้ตัวคนร้ายนั้นก้าวหน้ามากเกินกว่าที่เราจะจินตนาการถึง
ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น "พูดได้" ไม่ใช่แค่จินตนาการในหนังวิทยาศาสตร์อีกต่อไป วันนี้มันคือความจริง เชื่อหรือไม่ว่าทุกอย่างที่เราพูดนั้นถูกบันทึกเอาไว้โดยต้นไม้ใบหญ้า กระดาษทิชชู ห่อขนม และอื่นๆ ที่อยู่รอบตัว
ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น "พูดได้" ไม่ใช่แค่จินตนาการในหนังวิทยาศาสตร์อีกต่อไป วันนี้มันคือความจริง เชื่อหรือไม่ว่าทุกอย่างที่เราพูดนั้นถูกบันทึกเอาไว้โดยต้นไม้ใบหญ้า กระดาษทิชชู ห่อขนม และอื่นๆ ที่อยู่รอบตัว
ฆาตกรสองคนถึงกับตกตะลึง เมื่อได้ยินบทสนทนาการวางแผนฆ่าของตนเองที่พูดคุยกับเพื่อนอย่างลับๆ ที่ร้านกาแฟแห่งหนึ่ง บทสนทนาเหล่านั้นเป็นเหมือนคำสารภาพที่ถูกบันทึกไว้โดย "เถาไอวี่" ริมหน้าต่าง โดยอาศัยเพียงกล้องวีดีโอที่ถ่ายติดภาพเถาไอวี่เท่านั้น
ปัจจุบันนักวิจัยและพิสูจน์หลักฐานสามารถถอดเสียงการสนทนาจากวีดีโอที่มีแต่ภาพได้ โดยอาศัยการวิเคราะห์การสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในภาพซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ใช้การเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของสีพิกเซลในภาพ
เทคโนโลยีนี้ เดิมทีถูกคิดค้นขึ้นโดยศาสตราจารย์ วิลเลียม ที. ฟรีแมน จากห้องวิจัยเอ็มไอที ซึ่งเป็นซอฟแวร์ที่ใช้วิเคราะห์ความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสีใบหน้าผู้ป่วยในวีดีโอ ซึ่งสีของหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปตามจังหวะการเต้นของชีพจร ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของหัวใจ โลหิตจะไหลขึ้นสู่ใบหน้าไม่สม่ำเสมอ ทำให้สีในแต่ละพิกเซลของแต่ละช่วงเวลาเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่สายตาปกติมองไม่เห็น ต้องอาศัยการเปรียบเทียบจากวีดีโอ
ปัจจุบันนักวิจัยและพิสูจน์หลักฐานสามารถถอดเสียงการสนทนาจากวีดีโอที่มีแต่ภาพได้ โดยอาศัยการวิเคราะห์การสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในภาพซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ใช้การเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของสีพิกเซลในภาพ
เทคโนโลยีนี้ เดิมทีถูกคิดค้นขึ้นโดยศาสตราจารย์ วิลเลียม ที. ฟรีแมน จากห้องวิจัยเอ็มไอที ซึ่งเป็นซอฟแวร์ที่ใช้วิเคราะห์ความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสีใบหน้าผู้ป่วยในวีดีโอ ซึ่งสีของหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปตามจังหวะการเต้นของชีพจร ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของหัวใจ โลหิตจะไหลขึ้นสู่ใบหน้าไม่สม่ำเสมอ ทำให้สีในแต่ละพิกเซลของแต่ละช่วงเวลาเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่สายตาปกติมองไม่เห็น ต้องอาศัยการเปรียบเทียบจากวีดีโอ
เทคโนโลยีนี้ถูกนำมาต่อยอดในด้านการสืบสวน โดยใช้หลักการสั่นสะเทือนของเสียงพูด ซึ่งเดินทางผ่านอากาศในรูปแบบของคลื่นกระแทก มันจะทำให้สิ่งต่างๆ รอบตัวเกิดการสั่นสะเทือนเล็กน้อย โดยเฉพาะวัตถุที่เบาและสั่นไหวง่าย เช่น เศษกระดาษ ใบไม้ ทิชชู่ ฯลฯ ซึ่งตาเราอาจมองไม่เห็น แต่หากเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของพิกเซลสีในวีดีโอ จะสามารถบอกแรงสั่นสะเทือนได้ และสามารถใช้ซอฟต์แวร์ถอดรหัสความสั่นสะเทือนนั้นออกมาเป็นเสียงได้ด้วย และนั่นทำให้เราสามารถจับบทสนทนาจากวิดีโอที่ไม่มีเสียงได้
เทคโนโลยีนี้สร้างความทึ่งให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์หลายคน เพราะมันมีศักยภาพสูงมากอย่างเหลือเชื่อ จากการทดลองหลายครั้ง นักวิจัยพบว่า พวกเขาสามารถบอกได้ว่าคนพูดอะไรในวิดีโอที่ไม่มีเสียง ด้วยการวิเคราะห์ถุงมันฝรั่ง ที่มีกระจกกั้นจากแหล่งกำเนิดเสียง ด้วยการถ่ายวีดีโอในระยะ 5 เมตร เมื่อนำการถอดรหัสมาจำลองเป็นเสียงพูด ปรากฏว่าผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าพอใจ แม้ไม่ชัดเจนทุกคำ แต่จับใจความได้ ในระดับที่สามารถใช้การในชั้นศาลได้ทีเดียว
http://news.mit.edu/2014/algorithm-recovers-speech-from-vibrations-0804
http://blog.ted.com/abe-davis-incredible-tech-demo-at-ted2015